รากสามสิบ.html">
สาวร้อยผัว ภูมิปัญญาสมุนไพรที่ใกล้จะถูกลืม
อาจจะเป็นเพราะรากฐานของการให้ความสนใจและความรู้ต่อสมุนไพรไทยของบ้านเรายังน้อยไปหรือไม่ ที่ทำให้ในปีหนึ่งๆ ประเทศไทยต้องนำเข้ายาจากต่างประเทศมูลค่านับ 4.5-5หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 35 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ เมื่อเทียบกับในประเทศที่เจริญแล้วที่จ่ายค่ายาเพียงร้อยละ 10-15 เท่านั้น
ทั้งๆ ที่ภูมิปัญญาพื้นบ้านในด้านการรักษาและตัวสมุนไพรของไทยเป็นสิ่งที่ชาวต่างชาติให้ความสนใจ ต้องการมากจนถึงกับดั้นด้นและพยายามจดสิทธิบัตรเพื่อครอบครองเป็นของตนเองให้เห็นกันอยู่บ่อยๆ จากการที่นิตยสาร Herb for Health มีโอกาสได้ไปพูดคุยสัมภาษณ์พี่ต้อม หรือ ภ.ญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร ประธานมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ซึ่งได้ให้ความคิดเห็นว่า “จริงๆ แล้วสังคมไทยให้ความสำคัญกับการต่อยอดมากกว่าที่จะกลับไปดูรากและให้คุณค่ากับภูมิปัญญาโดยแท้จริงแล้ว บ้านเรายังมีอะไรอีกมากที่น่าสนใจ แต่เราขาดความเอาใจใส่หรืออาจหลงลืม ทำให้ภูมิปัญญาหายไป เป็นหน้าที่ของเราที่จะทำอย่างไรให้ภูมิปัญญาเหล่านั้นได้รับการเหลียวแล และทำให้กลับมาสุ่การใช้ในสังคมปัจจุบันได้
#สมุนไพร่ไทยบางตัว เช่น มังคุด แต่ก่อนคนไม่ค่อยเห็นคุณค่า ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วเปลือกมังคุดเป็นสารที่มีประโยชน์มากมาย ซึ่งในประเทศอินเดียมีการใช้เป็นสมุนไพรอันดับสองรองจากมะขามป้อมเลยทีเดียว และจากการที่ได้ไปเดินป่าบ่อยๆ ทำให้เห็นว่าแผ่นดินไทยยังมีความร่ำรวยของสมุนไพรอยู่เป็นอันมาก สมุนไพรบางตัวที่เกือบกลายเป็นตำนาน เช่น “รากสามสิบ” หรือทางภาคอีสานเรียกว่า “สาวร้อยผัว” คนส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยรู้จัก หรือไม่เคยได้ยินชื่อเลย แต่จริงๆ แล้วมีประโยชน์อย่างมาก คือ เป็นได้ทั้งอาหาร ยา ขนม ผัก หรือเป็นไม้ประดับก็ยังได้ ส่วนในด้านการเป็นยารักษาโรค จะมีคุณค่าในเรื่องการเป็นตัวยาแก้ปัญหาของผู้หญิงภาวะหลังมีประจำเดือน ภาวะหมดประจำเดือน ภาวะมีบุตรยาก หรือช่วยฟื้นฟูในเรื่องของการหมดอารมณ์ทางเพศได้ รากสดๆ ของสมุนไพรชนิดนี้ยังสามารถนำมาทุบหรือขูดกับน้ำเพื่อซักเสื้อผ้าได้อีกด้วย แหล่งที่มาของรากสามสิบ สามารถพบได้ทั่วไปทุกภาคส่วนใหญ่จะชอบอยู่ในดินที่มีทรายผสมอยู่นิดหน่อย และสภาพที่ชุ่มชื้น มีข้อมูลพบตั้งแต่พื้นราบจนถึงระดับพันเมตรจากน้ำทะเล
ความหลากหลายของสมุนไพรไทยยังมีมาก ซึ่งเราพยายามรณรงค์ให้คนหันมาใช้ในสิ่งที่มีอยู่แล้วและเร่งการศึกษา ส่งเสริมให้เก็บสิ่งที่สังคมลืมไปแล้วให้กลับมา และเป้าหมายต่อไปคือจะทำอย่างไรให้คนในระดับชุมชนสามารถพึ่งตนเองจากภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ ถ้าสามารถทำให้คนเหล่านี้มีความรู้ มีทักษะเป็นของตนเอง ก็คงจะเป็นรากฐานให้เขาต่อยอดต่อไปได้ดี แนวทางในอนาคต จะมีการนำรากสามสิบมาทำในรูปของชา แคปซูล หรือเครื่องสำอาง ส่วนการสกัดสารนั้นทางเราไม่ได้สกัดเอง แต่จะพยายามกระตุ้นให้มีการวิจัยเกี่ยวกับรากสามสิบมากขึ้น
ถ้ารากฐานของเราแข็งแรง ไม่ดิ้นอยู่กับสมุนไพรไม่กี่ตัว เช่น #ขมิ้นชัน #ฟ้าทะลายโจร #ภูมิปัญญาและสมุนไพรไทยที่ถูกหลงลืมคงจะกลับมาสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจจากสิ่งที่มีอยู่ในบ้านเราให้ดีขึ้นได้
#รากสามสิบ รีแพร์ แน่นๆเน้นๆ กระชับ สุขเหมือนสาวๆ
ฉันได้ทาน สมุนไพรรากสามสิบ ก็มาจากที่พูดกับเพื่อนว่า ฉันก็ยังอยากมีความสุขกับแฟนฉันอยู่นะ และเลือกจะทาน รากสามสิบล้วน ไม่เอาแบบผสม เพราะมันไม่เข้มขั้นตามที่คิด ผลที่ได้ฉันมีความสุขขึ้นจริงๆ #รากสามสิบ สรรพคุณเด่น ๆ ของสมุนไพรตัวนี้ขึ้นชื่อเรื่องเป็น #ยาบำรุงสำหรับสตรี ซึ่งหลายคนอาจเคยเห็นสมุนไพรรากสามสิบแบบแคปซูลกันมาบ้าง แล้วรู้ไหมคะว่า ประโยชน์ของรากสามสิบ สมุนไพรตัวเด็ดนี้ไม่ได้มีดีแค่ช่วยคนอยากมีลูกเท่านั้น รากสามสิบแท้จริงแล้วถูกเรียกหลายชื่อมาก ๆ เช่น #สาวร้อยผัว จ๋วงเครือ (ภาคเหนือ) ผักชีช้าง ผักหนาม (ภาคอีสาน) สามร้อยราก สามสิบ ชีช้าง จั่นดิน หรือม้าสามต๋อน มีชื่อสามัญว่า Shatavari
ส่วนลักษณะต้นรากสามสิบเป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็ง มีหนามแหลม มีเหง้าและรากใต้ดินคล้ายรากของต้นกระชาย ดอกมีขนาดเล็ก สีขาว แยกเป็นช่อ มีกลิ่นหอม เป็นต้นที่มีผลสดลักษณะกลม ผิวเรียบมัน และมีเมล็ดสีดำ
#รากสามสิบถูกเปรียบให้เป็นพลังแห่งการฟื้นฟูความสาว (Female Rejuvenation) เป็นยาโบราณที่หมอแผนโบราณและแพทย์สมุนไพรใช้เป็นยาบำรุงสำหรับสตรีมาตั้งแต่อดีต ซึ่งก็นับเป็นที่มาขอรากสามสิบงชื่อสาวร้อยผัว ชื่อเล่นอีกชื่อของรากสามสิบนั่นเอง โดยคนโบราณมักจะนำรากมาต้มกินหรือปั้นเป็นลูกกลอนกินกับน้ำผึ้ง ซึ่งบอกต่อ ๆ กันว่า จะช่วยบำรุงสตรีให้ไมว่าจะอายุเท่าไรก็มีลูกได้ง่าย และด้วยสรรพคุณของรากสามสิบที่มีฤทธิ์ใกล้เคียงกับฮอร์โมนเอสโตรเจน คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยาจึงได้ทำการศึกษาเรื่อง ผลของสารสกัดรากสามสิบต่อการป้องกันการสลายเนื้อกระดูกและ#อวัยวะสืบพันธุ์ ในหนูแรทที่ถูกตัดรังไข่ เนื่องจากเล็งเห็นว่า #โรคกระดูกพรุนซึ่งมักจะเกิดกับเพศหญิงมากกว่าเพศชายนั้น มีสาเหตุหลักจากการลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนภายหลังหมดประจำเดือน โดยได้ผลการทดลองมาว่า หนูที่ได้รับสารสกัดสมุนไพรรากสามสิบหลังจากถูกตัดรังไข่ มีน้ำหนักมวลกระดูกที่มากกว่ากลุ่มหนูถูกตัดรังไข่แต่ไม่ได้รับสารสกัดสมุนไพรรากสามสิบ
นอกจากนี้สารสกัดรากสามสิบยังไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเยื่อบุโพรงมดลูก ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สารสกัดรากสามสิบอาจมีประสิทธิภาพในการป้องกันการสลายของเนื้อกระดูกในหนูทดลองได้ โดยไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่ออวัยวะสืบพันธุ์ ทว่ายังคงต้องทดลองเพิ่มเติมเพื่อศึกษาว่า สารสกัดรากสามสิบจะมีผลกระทบใด ๆ กับอวัยวะอื่นหรือไม่
สมุนไพรสามสิบมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา ลดการอักเสบ แก้อาการปวด คลายกล้ามเนื้อของมดลูก บำรุงหัวใจ ป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ลดอาการหัวใจโตที่เกิดจากความดันโลหิตสูง ขับน้ำนม มีฤทธิ์เหมือนฮอร์โมนเอสโตรเจน ยับยั้งเบาหวาน ลดระดับไขมันในเลือด กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต้านอาการเม็ดเลือดขาวต่ำ เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง ยับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ยับยั้งพิษต่อตับ สารสำคัญที่พบในรากคือสาร steroidal saponins ซึ่งเป็นสารที่ทำหน้าที่เลียนแบบฮอร์โมนเพศ จึงน่าจะมีบทบาทในการรักษาอาการที่เกิดขึ้นในช่วงวัยหมดระดูของสตรี รวมไปถึงการช่วยปกป้องการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดรวมถึงโรคกระดูกพรุน
ข้อควรระวังในการใช้รากสามสิบ
เนื่องจากสมุนไพรรากสามสิบออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน ดังนั้นจึงจัดเป็นยาสมุนไพรที่ไม่ปลอดภัยนักต่อเพศหญิงที่มีความเสี่ยงโรคมะเร็งอยู่แล้ว เช่น ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเนื้องอกในมดลูก (Uterine Fribrosis) หรือมีก้อนเนื้อในเต้านม (Fibrocystic Breast) เป็นต้น ดังนั้นไม่ว่าจะใช้สมุนไพรอะไรก็ควรปรึกษาแพทย์ก่อนจะดีที่สุดนะคะ
เครดิต : http://www.thaiherbweb.com/product-type/3315/รากสามสิบ.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น