วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ตำรับยาสูตรง่าย ๆ จากสมุนไพรและของก้นครัว

สมุนไพรไทยและของในครัวก็นำมาทำเป็น 8 ตำรับยาสูตรง่าย ๆ บอกเลยว่าทุกบ้านควรต้องมีติดไว้ 

8 ตำรับยาสูตรง่าย ๆ จากสมุนไพรและของก้นครัว8 ตำรับยาสูตรง่าย ๆ จากสมุนไพรและของก้นครัว

 1. ขิงขจัดอาการคลื่นไส้ 

          รู้ไว้เลยว่าขิงใช้แก้อาการคลื่นไส้และอาเจียนได้ จึงช่วยลดอาการเมารถ หวัดลงกระเพาะ หรือแม้แต่อาการคลื่นไส้ในคนไข้ที่ผ่านการรักษาแบบคีโม และมีผลวิจัยจาก National Cancer Institute ยืนยันว่า ในคนไข้ที่รักษาแบบคีโม มีอาการคลื่นไส้น้อยกว่ามากหากกินขิงเสริม ดีกว่าคนไข้ที่กินยาแป้ง (Placebo) หรือเม็ดยาที่ทำจากแป้ง ซึ่งทางแพทย์หลอกให้คนไข้กินเพื่อให้รู้สึกดีขึ้นเองด้วย

8 ตำรับยาสูตรง่าย ๆ จากสมุนไพรและของก้นครัว

2. กินกระเทียมเป็นประจำช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งได้ 

          ทราบแล้วรีบกินกระเทียมไฮโดสอย่างด่วนนับแต่วันนี้เลยนะ มีบทความใน American Journal of Clinical Nutrition ระบุไว้เลยว่า การกินกระเทียมเป็นประจำในปริมาณมาก จะช่วยลดระดับความเสี่ยงของมะเร็งได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือมะเร็งรังไข่ 

         ดังนั้นเพื่อให้ได้ผลที่ดีสุด ๆ ก็ทุบหัวกระเทียมใส่ลงไปในอาหารของคุณแทบทุกมื้อเลยละกัน หากไม่กลัวปากเหม็นอะนะ
8 ตำรับยาสูตรง่าย ๆ จากสมุนไพรและของก้นครัว

3. กลั้วคอด้วยน้ำเกลือเพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอ 

          ไม่อยากจะเชื่อก็ต้องเชื่อ เมื่อคุณหมอดักกลาส ฮอฟแมน แห่ง The Medical Consumer’s Advocate กล่าวว่า อาการเจ็บคอเกิดจากการติดเชื้อในช่องคอ การกลั้วน้ำเกลือบริเวณลำคอจะช่วยขจัดเอาของเหลวที่ก่อให้เกิดอาการเจ็บคอเวลากลืนน้ำลายได้ 

          โดยปริมาณที่เหมาะสมในการทำละลายก็คือ เกลือ 1 ช้อนชา ต่อน้ำเปล่าประมาณ 230 มิลลิลิตร ในปริมาณแค่นี้รับรองว่าไม่เค็มเกินไปจนกลั้วคอลำบากแน่นอน
8 ตำรับยาสูตรง่าย ๆ จากสมุนไพรและของก้นครัว

4. ชาคาโมมายล์ รักษาโรคหวัดและลดอาการปวดประจำเดือน 

          เป็นที่รู้จักกันดีพอสมควรแล้วว่า ชาคาโมมายล์มีคุณสมบัติช่วยในการรักษาและลดอาการอักเสบ และมีผลการวิจัยใหม่ ๆ ที่เหมือนว่าจะซัพพอร์ตความเชื่อนี้เป็นอย่างดี โดยการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน Journal of Agricultural and Food Chemistry ระบุว่า ในชาคาโมมายล์มีโมเลกุลบางชนิดที่จะช่วยต่อสู้กับไวรัสไข้หวัด เช่นเดียวกับช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้

ผงฟู

5. ใช้ผงฟูรักษาปากนกกระจอก 

          ทำส่วนผสมข้น ๆ ที่เกิดจากการผสมผงฟูกับน้ำน้อย ๆ จากนั้นแต้มน้ำนั้นลงตรงมุมปาก การรักษาหลักสูตรนี้ได้รับการสนับสนุนทางวิชาการจาก Meyo Clinic และ National Institutes of Health มาแล้ว

          อ๊ะ ! แต่ตอนแต้มควรแต้มในวันที่ไม่ได้ออกไปไหนนะ ไม่งั้นคนอื่นอาจเข้าใจว่าเหมือนกินโดนัทแล้วมีแป้งเปื้อนขอบปากได้

8 ตำรับยาสูตรง่าย ๆ จากสมุนไพรและของก้นครัว

6. ขมิ้นชันช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ 

          ขมิ้นชันมีสารที่เรียกว่าคูเคอร์มิน ซึ่งเป็นสารต้านการอักเสบต่าง ๆ อีกทั้งคุณสมบัติในส่วนนี้ยังช่วยลดอาการเจ็บปวดได้อย่างมหัศจรรย์ รวมถึงลดอาการบวมจากข้ออักเสบและอาการเจ็บข้อได้ด้วย

          โดยจากการศึกษาที่ระบุใน Journal of Alzheimer’s Disease ค้นพบว่า คูเคอร์มินมีคุณสมบัติช่วยถอนคราบพลัคในสมอง อันเป็นจุดกำเนิดของโรคอัลไซเมอร์ได้
8 ตำรับยาสูตรง่าย ๆ จากสมุนไพรและของก้นครัว8 ตำรับยาสูตรง่าย ๆ จากสมุนไพรและของก้นครัว
7. ถั่วเหลืองช่วยลดคอเลสเตอรอล 

          ถั่วเหลืองถูกใช้มานานในเมนูฮิตของคนจีนและคนเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นนมถั่วเหลืองหรือเต้าหู้ที่ทำจากถั่วเหลือง แถมยังมีส่วนผสมที่คล้ายคลึงกับฮอร์โมนเพศหญิงหรือเอสโตรเจนด้วย จึงช่วยบรรเทาอาการร้อน ๆ หนาว ๆ จากภาวะหมดประจำเดือนหรือ Menopause ได้ 

          แถมยังช่วยลดคอเลสเตอรอล ความดันเลือด และลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมากได้ ทั้งยังมีการวิจัยค้นพบด้วยว่า การกินหรือดื่มน้ำถั่วเหลืองเป็นประจำทุกวัน ยังช่วยลดระดับของ LDL หรือคอเลสเตอรอลชนิดเลวได้ด้วยนะ

8 ตำรับยาสูตรง่าย ๆ จากสมุนไพรและของก้นครัว

8. พริกไทยดำ ช่วยต้านไขมันพอกในตับ 

          ถือเป็นแหล่งสารอาหารที่อุดมด้วยแมงกานีสและคอปเปอร์ ช่วยสร้างความแข็งแรงให้เมตาบอลิซึม และช่วยรักษากระดูกให้แข็งแรง โดย National Institute of Health ในอเมริกา ได้เผยผลการศึกษาหนึ่งในกรุงโซล เกาหลีใต้ ซึ่งค้นพบว่า การใช้สารเปปเปอร์รีนที่มีอยู่ในพริกไทยช่วยลดไขมันในตับของหนูได้ ซึ่งผลการวิจัยนี้ได้รับความสนใจมาก เพราะถือเป็นโรคที่มีผู้ป่วยมากขึ้นเรื่อย ๆ จากการดำเนินชีวิตอย่างเร่งรีบ และโรคนี้ยังเป็นสาเหตุหลักของการเป็นโรคตับของคนอเมริกันด้วย

          Tip : หากกินสมุนไพรในรูปแบบเม็ด อย่าคิดว่ายิ่งกินเยอะยิ่งดี ควรกินตามปริมาณที่ระบุไว้ข้างกล่อง และทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างต่อเนื่อง หรือทางที่ดีก็ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนรับประทาน
ขอบคุณข้อมูลจาก : http://health.kapook.com